พิชัยสงครามไทย กลยุทธ์ที่ 11 กลอินทร์พิมาน

๑๑. กลอินทร์พิมาน
“กลหนึ่งชื่อว่า อินทพิมาน
ให้อาจารยผู้รู้ เทพยาครูฝังนพบาท
แต่งสีหนาทข่มนาม ตามโบราณผู้แม่น
อันชาญแกวนเหนประโยชน์ บรรเทาโทษโดยสาตร
ยุรยาตรโดยอรรถ ให้ประหยัดซึ่งโทษ
อย่าขึ้งโกรธอหังกา มนตราคมสิทธิ์ศักดิ์
พำนักน์ในโบราณ บูรพาจารยพิไชย
โอบเอาใจพลหมู่ ให้ดูสกุณนิมิตร
พิศโดยญาณุประเทศ พิเศศราชภักดี
ศรีสุริยศักดิ์มหิมา แก่ผู้อาษานรนารถ
เทพาสาธุการ โดยตำนานดั่งนี้
ชื่อว่าอินทพิมานฯ”
“กลหนึ่งชื่อว่า อินทพิมาน
ให้อาจารยผู้รู้ เทพยาครูฝังนพบาท
แต่งสีหนาทข่มนาม ตามโบราณผู้แม่น
อันชาญแกวนเหนประโยชน์ บรรเทาโทษโดยสาตร
ยุรยาตรโดยอรรถ ให้ประหยัดซึ่งโทษ
อย่าขึ้งโกรธอหังกา มนตราคมสิทธิ์ศักดิ์
พำนักน์ในโบราณ บูรพาจารยพิไชย
โอบเอาใจพลหมู่ ให้ดูสกุณนิมิตร
พิศโดยญาณุประเทศ พิเศศราชภักดี
ศรีสุริยศักดิ์มหิมา แก่ผู้อาษานรนารถ
เทพาสาธุการ โดยตำนานดั่งนี้
ชื่อว่าอินทพิมานฯ”
กลยุทธนี้ว่าด้วยการนำกุศโลบายปราญ์โบราณ ว่าด้วยการ ฝังยันต์ แต่งปืนใหญ่ ตัดไม้ข่มนาม สร้างความฮึกเฮือมให้กับทหารผู้จะออกรบ ในสมัยพระนเรศวรก่อนออกรบ ทหารจะไปรวมตัวกันที่วัดชนะสงคราม ตรงข้าม แถวๆ ตำบลสำเภาล่ม หากเดินทางทางเรือ จะเห็นวัดก่อน วัดพุทไธสวรรค์ มีการไหว้พระเสี่ยงทายว่าจะชนะศึกหรือไม่ แน่นอนทุกครั้งจะได้ว่าชนะ และทหารก็จะส่งเสียงตะโกนพร้อมๆกัน นี้คือการสร้างขวัญและกำลังใจให้ ทหาร หรือผู้ใต้บังคับบัญชา ในทางธุรกิจเราจะมีการจัด ผังการทำงาน ผังโรงงาน เสียงดนตรีในการทำงาน การสร้างสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน การทำขั้นตอนงานและผังให้การทำงานไหลลื่นไม่สะดุด มีการวางเรื่องสี ในพื้นที่ทำงานให้มีความสดชื่น มีการจัดประชุมพนักงาน มอบรางวัลแก่พนักงานดีเด่นให้ทุกคนเห็น แถลงนโยบายบริษัทให้พนักงานทราบ มีการพบปะระหว่างผู้บริหารและพนักงานเพื่อให้ทราบเป้าหมายทิศทางพร้อมกัน ส่งเสริมขวัญกำลังใจพนักงาน อย่างปีนี้ผมสัญญากับพนักงานว่าเราจะต้องการสร้างโบนัสให้พนักงานทุกคนอย่างน้อย 3เดือน หากเราบรรลุเป้าหมายที่ต้ังไว้ เราคุยพร้อมกัน ให้ทุกคนทราบนโยบาย โบนัสเดือนแรกจะมาจากแผนกใด เดือนที่สองจะมาจากแผนกใดถึงเป้า และเดือนที่3 จะมาจากแผนกใด หน่วยรบทั้ง3ของผมรู้หน้าที่ว่าตนต้องบรรลุอะไรทำอะไร เรามีการเลี้ยงกันฉลองกัน เมื่อถึงเป้าหมาย สรุปอินทร์พิมานหรือ วิมานพระอินทร์ ประกอบด้วย3 อย่างคือ หนึ่งคือสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี ขบวนการทำงานที่ดีมีมาตรฐาน สองการสร้างขวัญกำลังใจทีมงานด้วยการสื่อสารทั้งเอกสารและการประชุมชี้แจง และสามคือการสร้างตัวช่วยไม่ว่าเป็นแรงจูงใจ กระตุ้นให้ทำงาน การให้อำนาจและพัฒนาขีดความสามารถคนให้พร้อมทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น