Digital Marketing 4.0

Digital Marketing  4.0
กลยุทธ์และ ไอเดียใหม่ เพื่อสร้างความภักดีลูกค้าในยุค Marketing5.0

วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Networking Economy & Marketing 3.0

Networking Economy & Marketing 3.0
 ผมได้มีโอกาสไปGuest Speakerบรรยาย ให้ Business Economics  มหาวิทยาลัย ABAC  เรื่อง เศรษฐกิจเครือข่าย  ผมได้กล่าวถึง เครือข่ายเศรษฐกิจทางกายภาพ   และ ทางVirtual  
  • ทางกายภาคPhysical คือ ประเทศไทยจะต้องเป็นศูนย์กลางอินโดจีน  โดยตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของไทยอยู่ตรงกลางพอดี  และไทยมียุทธศาสตร์เชื่อมโยง  เศรษฐกิจ การลงทุน  โลจิสติกส์  ท่องเที่ยว และการค้า กับประเทศเพื่อนบ้าน อินโดจีนที่มีประชากร กว่า 230  ล้านคนรวมประเทศไทย และ ไทยได้เป็นเครือข่าย อาเซียนที่มีประชากรกว่า600 ล้านคน ในอนาคตอันใกล้การเปิด เขตการค้าเสรี อาเซียน AEC  เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่ธุรกิจไทยต้องเร่งปรับตัว เพราะจะมีคู่แข่งจากต่างชาติเข้ามา  ทั้งอาศัยไทยเป็นศูนย์กลางลงทุน และใช้ไทยเป็นฐานส่งออกไปยังอินโดจีนและอาเซียน  ในขณะเดียวกันจะมีสินค้า และบริการหลั่งไหลเข้าประเทศไทยในต้นทุนและราคาที่ถูกกว่าผลิตในประเทศไทย    ทั้ง จีน  อินเดีย  ญี่ปุ่น เกาหลี  ออสเตรเลีย  ต่างมองชิ้นปลามันและพร้อมที่จะเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย  นี่เป็นอิทธิพลจากการเชื่อมโยงเครือข่ายเศรษฐกิจระดับประเทศ เป็นเขตการค้าเสรี   ยุทธศาสตร์ที่ตอบรับ ไม่ว่าล่าสุดจะเป็น 3 วงแหวน 5 ประตูการค้า หรือ 5 เหลี่ยมเศรษฐกิจ เชื่อมกับ เอเชียใต้  ความร่วมมือประเทศลุ่มแม่น้ำโขง  สามเหลี่ยมเศรษฐกิจกับมาเลเซีย   เครือข่ายเศรษฐกิจ   APEC กับ NAFTA   และ ASEMกับยุโรป  ล้วนเป็นเครือข่ายทางเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกัน
  • ทางอินเทอร์เน็ต Virtual  พบว่า  2,000  ล้านคนของประชากรโลก หรือ หนึ่งใน สาม  เข้าถึงอินเทอร์เน็ต ในขณะที่ประเทศไทย 28%  ประชากรเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และ 14% ของคนไทย หรือ ประมาณ 18   ล้านคนไทยเล่นFacebook จัดเป็นอันดับ19 ของโลก  คนไทยมีมือถือ  70%   ดังนั้นการพัฒนา ด้าน  พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ  E commerce   และ พาณิชย์บนมือถือ M Commerceจะเข้ามามีบทบาท อย่างมาก  การรวมตัวกันเป็นชุมชน Community และเครือข่ายทางสังคมSocial Network นี้จะทำให้เกิดกระแสผู้บริโภค Consumerismที่ ผู้บริโภคมีอำนาจต่อรอง จากการรวมพลังกลุ่ม และสามารถรวมคำสั่งซ์ื้อเพื่อต่อรอง ราคา และคุณภาพผลิตภัณฑ์กับผู้ผลิต  หรือผู้ขาย  เมื่อประมาณผู้ซื้อมากขึ้น ราคาสินค้าและบริการก็ลดลงตาม   การรวมตัวนี้เกิด Social Commerce   ดังนั้นผู้ผลิต ผู้ให้บริการจำเป็นต้องมีความจริงใจ คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจาก กิจกรรมทางธุรกิจไม่ว่าจะมี ต่อคนในสังคม  ต่อสภาพแวดล้อม   หรือต่อ  เศรษฐกิจ ท้องถิ่น ชุมชน ภูมิภาคหรือระดับประเทศ    หากมีการทำลายสภาพแวดล้อม  สังคม หรือ ความเป็นดีอยู่ดีของชุมชน ข่าวร้ายก็จะแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว  เพราะในสังคม Social Network แต่ละคนจะมีเพ่ื่อนในชุมชน และแต่ละคนจะให้ข้อวิพากวิจารณ์ ที่เรียกว่าเม้น  ได้อย่างเสรี  ทุกคนจะผลิตเนื้อหาContect ในบริบทContextของเครือข่ายสังคม  ทุกคนเป็นเจ้าของสื่อ ผลิตรายการง่ายๆ ด้วยระบบ เว็ป 2.0 3.0    ผ่าน Social Media และ  Blog    อีเมล์  BB    ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตกับลูกค้าจะเปลี่ยนไป  ผู้ผลิต มีหน้าที่รวมตัวกับผู้ให้บริการ หรือ ผู้ผลิตรายอื่นๆ  ในการตอบโจทย์ที่ สนองความต้องการเฉพาะของลูกค้าแต่ละรายที่มีเครือข่าย เพื่อน ญาติ พี่น้องที่เป็นกลุ่มสังคม   ความสัมพันธ์ทางธุรกรรมจะเป็นแบบMany to Many และต้องใช้Marketing 3.0 มาตอบโจทย์
คำถามคือเมื่อมีการเปิดเสรีทางการค้า ภูมิคุ้มกันด้านภาษีหมดไป การเคลื่อนย้ายของ เงินทุน  ผลิตภัณฑ์  ทักษะ แรงงาน  และ เทคโนโลยี่ จะเป็นไปอย่างรวดเร็วและเสรี สู่ความเป็นสากล Internationalization    ทั้งนี้คู่แข่งต่างชาติก็สามารถเข้ามาได้เสรี  เราจะต้องเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงอย่างไร   แน่นอนการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน Competitiveness  เป็นหัวใจในการสร้างภูมิคุ้มกัน ด้วยระบบเศรษฐกิจ 3 ระบบ
  1. Knowledge Based Economy  ระบบสังคมแห่งการเรียนรู้   นั้นคือ ผู้ประกอบการต้องพัฒนาองค์ความรู้  และแลกเปลี่ยนความรู้ เติมเต็มความรู้ที่ขาด ซึ่งกันและกัน   พัฒนาองค์ความรู้ด้านการสร้างมาตรฐาน ประกอบธุรกิจ  และผลิตภัณฑ์ ทั้งระบบสู่ความเป็นสากล คำนึงถึง สังคม  สิ่งแวดล้อม และ เศรษฐกิจ    การสร้างกลุ่มคณะทำงานติดตามการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ จัดลำดับ และ หาผู้รู้มาตอบโจทย์ ประเด็นร้อนต่างๆที่จะมีผลกระทบรุนแรงและรวดเร็ว Hot Agenda  การมีองค์ความรู้ บริหารความรู้ให้เกิดประโยชน์ ไม่ใช่รู้คนเดียว จะเป็นหัวใจ ที่ทุกคนต้องร่วมมือกัน เป็นเครือข่าย คือ
  2. Networking Economy การรวมตัวกันเป็นเครือข่าย  ในระดับประเทศไทยรวมเป็นอาเซียน สร้างอำนาจต่อรองกับเขตการค้า  EU  NAFTA   ญี่ปุ่น  จีน อินเดีย   Oceania    ในระดับ ธุรกิจ ต้องมีการรวมเครือข่าย ของอุตสาหกรรมเป็น ชมรม สมาคม  สภา   สมาพันธ์  สหพันธ์   จนกระทั่งเป็นคลัสเตอร์ Industrial   Cluster   ในระดับภูมิภาคมีการรวมตัวกัน เป็นเครือข่าย  Geographic Cluster   ที่รวมพลังกัน ตลอด Supply chain  เพื่อตอบสนอง ความต้องการตลาด Demand Chain  เพื่อสร้าง Value Chain  ทั้งด้านต้นทุน  คุณภาพ  เวลา  และ นวัตกรรม    ในระดับท้องถิ่นมีประชาสังคม และการนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้  ในเศรษฐกิจยอดพีรามิด ในที่นี้คือ
  3. Creative Economy ในที่นี้มิได้ตีความแคบๆเพียงแค่อุตสาหกรรม ออกแบบ วัฒนธรรม  สื่อ  สิ่งพิมพ์  โฆษณา  เท่านั้น  แต่หมายถึงการต่อยอด ธุรกิจ ด้วยความคิดสร้างสรร ตั้งแต่ ต้นน้ำ  วัตถุดิบ การออกแบบ   นวัตกรรม   ขบวนการผลิต  ผลิตภัณฑ์ใหม่ บรรจุภัณฑ์ใหม่  ช่องทางใหม่  การตลาดใหม่ บริการใหม่  เพื่อสร้างคุณค่าValue Creation ร่วมระหว่างลูกค้าและ เรา  Co-creation
การพัฒนาการทั้ง 3 ระบบ   เกิดจากเครือข่าย ตั้งแต่รากหญ้า ท้องถิ่น  รวมตัวกันเป็นชุมชน เป็นวิสาหกิจชุมชน  ประชาสังคม เช่น การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ   เกษตรอินทรีย์แบบผสมผสาน   เกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง   OTOP      ส่วนธุรกิจรวมตัวกันเป็นชุมชน  สมาคม  คลัสเตอร์  สร้างกลยุทธ์ธุรกิจ และยุทธศาสตร์สมาคม หรือ อุตสาหกรรม   ในขณะที่ประเทศชาติรวมตัวเป็นเขตการค้าภูมิภาค  เป็นยุทธศาสตร์ของประเทศและกลุ่มประเทศในภูมิภาค     ภายใต้บริบทของการเชื่อมโยงเครือข่ายและต่อท่อเข้าหากัน  Connectivity   ซึ่งการเชื่อมโยง ทำให้เกิด ชุมชน Community     ชุมชนทำให้เกิดธุรกรรมพาณิชย์​Commerce    หรือการค้า  วันนี้ ต้องถามตัวคุณเองในฐานะผู้ประกอบการ ว่าวันนี้คุณพร้อมจะเปลี่ยนแปลงอย่างโดดเดี่ยวหรือพร้อมจะเปลี่ยนแปลงไปด้วยกันทั้งเครือข่าย  เปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า เปลี่ยนคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกันให้เป็นพันธมิตรหรือยัง  และคุณพร้อมที่จะมองให้ใกล้ถึงปลายทางผลกระทบที่จะมีต่อ  สังคม  สภาพแวดล้อม และ ระบบเศรษฐกิจด้วยความจริงใจหรือยัง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

hostgator coupon