ปรับ กลยุทธ์ ธุรกิจ สู่ ยุค AEC ประชาคมอาเซียน
หากมีคนถามว่า AEC จะส่งผลกระทบอะไรต่อธุรกิจ และ ธุรกิจจะต้องปรับตัวอย่างไร ในภาพกว้างเราคงไม่ต้องพูดกันแล้วว่า ภูมิคุ้มกัน กำแพงภาษี และ ภูมิคุ้มกันที่ไม่ใช่ภาษี NTB รวมถึงการปฏิบัติต่อผู้ลงทุน และ แรงงานทักษะ เยี่ยงคนในชาติ นั้นมีผลกระทบต่อ ต้นน้ำ ถึง ปลายน้ำ การเคลื่อนย้าย สินค้า บริการ เงินทุน การลงทุน แรงงานทักษะ เสรี นั้นทำให้ใครก็เข้ามาแข่งกับเราได้ หากเราไม่พร้อมปรับองค์กรของเราให้พร้อม ด้วย การปรับโมเดลธุรกิจ Business Model ของเราให้แข็งแรง หากพูดถึง โมเดลธุรกิจ หรือต้นแบบธุรกิจ เราต้องพิจารณา ว่า เราทำอะไรที่สร้างคุณค่าให้กับลูกค้าเรา และนั้นคือเหตุผลว่าทำไมต้องมีเรา หากเราเป็นแค่คนกลาง ไม่ได้ต่อยอดอะไรเลยให้ลูกค้า เช่นเราซื้อของมา แต่ต่อยอดด้วยการให้บริการ หรือ การประกอบของที่ซื้อมาเป็นองค์รวม หรือ บรูณาการของที่ซื้อมา ไม่ว่าจะเป็น Integration Assembly Total Solution ซื้อของจากแต่ละประเทศ มา เช่น เลนส์ จากเกาหลี กรอบแว่นจาก จีน ออกแบบแว่นโดยนักออกแบบญี่ปุ่น ประกอบแว่นในไทย ผ้าไหมเทียมจากจีนอินเดีย มาผสมไหมจริงจากไทย ออกแบบโดยนักออกแบบอิตาลี ตัดเย็บขึ้นรูปเป็น แฟชั่น ผ้าปูเตียง ปลอกหมอน กระเป๋า ผ้าปูโต๊ะ ม่านในไทย และวางเป็นคอลเล็คชั่นหรือเข้าชุด ที่ร้านโดย Stylist ที่มีชื่อเสียงจาก ญี่ปุ่น ภาพธุรกิจในอนาคตจะออกมาแบบนี้ 2 มิติที่ผม ได้ขึ้นทะเบียนลิขสิทธิ์ไว้ หมายเลข 2i1429 ณวันที่ 3 สิงหาคม พศ 2552 เป็นการมองภาพว่าต้นแบบธุรกิจหรือโมเดลธุรกิจนั้นจะเป็นคำตอบในการก้าวสู่ยุคAEC การปรับตัวธุรกิจไทยใน2 มิติ คือ การมองเข้ามาสังเกตตัวเราเอง หลังจากที่เราสังเกตสภาพแวดล้อมธุรกิจมานาน นานจนลืมสังเกตตัวเองว่า
- เรามี ขบวนการทางธุรกิจของเราอย่างไร Business Process จากปัจจัยการผลิต หรือปัจจัยนำเข้า Input ที่เรามักเรียกว่าต้นน้ำ Buyside ประกอบด้วย วัตถุดิบ เงินทุน แรงงานทักษะ คู่ค้า หาเทคโนโลยี่ที่ต้องการ ปัจจัยภายในองค์กรธุรกิจ Inside ซึ่งพิจารณา วัฒนธรรมองค์กร มาตรฐานประกอบการธุรกิจ การพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจของคนในองค์กร ปัจจัยปลายน้ำ หรือตลาด Sell side ประกอบด้วยการสร้างตลาด การรักษาตลาด การสร้างคุณค่าให้ลูกค้า ด้วย CRM CEM CSR การบริหารช่องทางสื่อสาร ตลาดและบริการ
- เรามีการสร้างคุณค่า Value Creation ให้กับธุรกิจเราได้อย่างไร ซึ่งแนวทางเราจะต้องมี นวัตกรรมInnovation และ ความคิดสร้างสรรค์ Creativity โดยมีวงจรของการสร้าง คุณค่าอยู่ 4 จังหวะ 4DIMENSIONS D แรกคือ Definition การกำหนดหรือจำกัดความให้แน่ชัดว่าลูกค้ากลุ่มใด ต้องการอะไร แล้วสู่ D สองคือ Design การดูว่าจากความต้องการ ปัญหาอุปสรรคที่ลูกค้ามี หรือธุรกิจมีนั้นจะออกแบบคุณค่าให้อย่างไร Dตัวที่สาม คือ Development คือการพัฒนาคุณค่า คือการผลิตการสร้างหรือแปลงแนวคิด จากการออกแบบให้สู่เป็นรูปธรรมหรือ ของที่จับต้องได้ หรือเป็นภาพปลายทาง เช่น ระบบ ความสะดวกสบาย รวดเร็ว ไร้กังวล เท่ห์ รวมศูนย์ บูรณาการ ส่วน D ท้ายสุดคือ Delivery จะส่งมอบคุณค่านั้นได้อย่างไร ไปยังมือลูกค้าปลายทาง ด้วย คน ด้วยระบบ ด้วย IT ด้วยหน้าร้าน หรือผ่าน เมล์ หรือมีสภาพแวดล้อมบรรยากาศอย่างไร ซึ่งจะต้องมีเหตุการณ์ Incident จะตรวจนับตรวจสอบตัวชี้วัด ได้อย่างไร ว่าลูกค้าพึงพอใจ และบรรลุเป้าประสงค์ ได้รับผลสำเร็จ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น