- ฝั่งซื้อเข้า จะมีระบบเชื่อมโยง ระหว่างปลายน้ำความต้องการ ผลิตภัณฑ์จากปลายทาง ส่งคำสั่งซื้อมายังต้นทาง วางแผนการสั่งซื้อเข้า วัตถุดิบทั้งในแง่ คุณภาพ และปริมาณ ตามที่ต้องการ และต้นทุนที่รับได้ ในแต่ละเดือนและฤดูกาล ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องมือ ระบบโซลูชั่นมากมาย ที่ทำให้เราควบคุม ปัจจัยนำเข้าได้ ตอบสนองต่อความต้องการ การผลิต การใช้ของ หน่วยผลิต และลูกค้าปลายทาง การพัฒนาระบบ VMI Vendor Managed Inventory โดยซัพพลายเออร์หลักที่เป็นคู่ค้าจะควบคุมสต๊อคสินค้าให้เราแทนเรา ไม่ให้ขาดเกิน จนเกิดความสูญเสีย ระบบ Experience Network ตัวอย่างเช่น บริษัทยาโรคหัวใจ โรงพยาบาล แพทย์หัวใจ เครื่อมือตรวจวัดหัวใจ โภชนากร Personal Trainer จะร่วมมือกันอ่านผลการวัดจากผู้ป่วย ที่ส่งสัญญานมายัง แพทย์ โรงพยาบาล และบริษัทยา ในทุกๆวัน การร่วมกันเพื่อให้ไม่เกิดความเสี่ยงต่อหัวใจวายของลูกค้ามีระบบเตือนภัย และมีการติดต่อผู้ป่วยทันที กรณีมีความเสี่ยง ผ่าน เครื่องมือสื่อสาร และ Social networkะ
- Inside จะมีการควบคุมขบวนการปฏิบัติการให้ได้มาตรฐาน และคงเส้นคงวา เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ตามต้องการ ทั้งในด้านคุณภาพ ปริมาณ ต้นทุน ในเวลาที่กำหนด ทั้งระบบ โดยต้องให้คนมีความรู้ ความถนัด ตามขบวนการที่วางไว้ ทั้งนี้จะต้องมีการนำองค์กรให้เห็นทิศทางที่จะไปข้างหน้า และตั้งเป้าหมายผลลัพธ์ที่ต้องการ โดยขับเคลื่อนด้านกลยุทธ์ ขบวนการ ทักษะบุคลากร เพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้า โดยมีเครื่องมือต่างๆดังแผนภาพ
- ฺBuyside การส่งมอบคุณค่าให้ลูกค้า นั้น จะต้องดูในเรื่อง การสื่อสารการตลาด ไปให้ลูกค้าทราบ ผ่าน การตลาด online ผ่านมือถือและอินเทอร์เน็ต Social network และ offline ผ่านการจัดงาน หน้าร้าน และทีมขาย การกระจายสินค้าผ่าน คนกลาง ร้านค้า ทีมขายตรง หรือผ่าน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มือถือ และ Social Commerce (ดู 12แนวโน้มผู้บริโภค ปี 2012) ระบบการให้บริการผ่าน ศูนย์บริการ ระบบโลจิสติกส์ที่ต้องตอบสนองเร็วต่อความต้องการลูกค้า ECR Efficiency Consumer Response ที่ต้องผันแปรตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของลูกค้า เช่นการมี ระบบPOS หน้าร้านจะทำให้เราทราบว่า ร้านเราขายอะไร ไม่ขายอะไร ของอะไรขายดีสต๊อคใกล้หมดต้องรีบเติมเต็มนี่คือระบบMAS Merchandise Analysis System และถ้าของอะไรขายไม่ดีในสาขานี้จะต้องโยกออกไป สาขาที่มันขายดีแทนอย่าให้เกิดการสูญสียโอกาสการขายหรือสูญเปล่าจากการนำของขายไม่ออกมาเปลืองพื้นที่ขายหน้าร้าน และโกดังเก็บของ วางของให้ถูกที่ ถูกเวลา ที่เรียก Right Time Marketing คือนำของที่ใช่ ไปสู่คนที่ใช่หรือต้องการมัน ในเวลาและสถานที่หรือช่องทางที่ถูกต้อง หากเราทำมั่วๆไม่มีระบบตรวจวัด เราจะรู้ได้อย่างไร เช่นเรารู้สึกหนาว เพราะเราอาจจะเป็นไข้ทั้งที่ที่อุณภูมิปรอทวัดมันก็เท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลงการบริการก็เช่นกัน จะอาศัยความรู้สึกไม่ได้ ต้องอาศัยข้อมูลแล้วตัดสินใจ ไม่งั้นคุณก็บริหารงานแบบ You-ming System ก็คือระบบยิงมั่วนั้นเอง เห็นใบไม้ไหวก็ยิงกระสุนหมดแม็กซ์แล้ว
การตลาด กลยุทธ์การตลาด แนวคิดใหม่ การตลาด บทความ แนวโน้ม การเคลื่อนไหว ข่าวสาร ทางธุรกิจ การตลาด แนวคิดการจัดการ กลยุทธ์ธุรกิจและยุทธศาสตร์ ธุรกิจ
วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554
โมเดลธุรกิจ Business Model>ตอนที่ 7 >Business Model-Value Delivery
โมเดลธุรกิจ ตอน ส่งมอบคุณค่า Value delivery
ตอนที่แล้ว ได้พูดถึง Business Model Development การพัฒนาโมเดลธุรกิจ โดยได้กล่าวถึงการพัฒนาระบบงานและระบบคน องค์ความรู้ที่จะรองรับ ตามการออกแบบโมเดลธุรกิจที่วางไว้ Business Model Design ว่าท่านได้ออกแบบ โมเดลธุรกิจท่านเป็นอย่างไร ตัวอย่าง Dell ขาย คอมพิวเตอร์ตรงถึงมือผู้ซื้อเป็นหลัก ดังนั้นยอดขายก็จะมาจากการขายตรงสู่ลูกค้าที่เป็นบริษัท B2B เป็นหลัก หน่วยขายต้องรู้เรื่องเทคโนโลยี่และ ระบบเครือข่ายอย่างดี ทักษะด้าน Sale Engineer และหากต้องการขยายมาสู่ผู้บริโภค B2C Online Marketing และ Telemarketing จะต้องแข็ง รองรับโมเดลธุรกิจที่วางไว้ IFEC เปลี่ยนโมเดลธุรกิจจากการสนับสนุนเครื่อง ถ่ายเอกสาร แบบอนาล็อก เป็น การสนับสนุน เครื่อง Multi-Functionที่ทำได้ทั้ง ถ่ายเอกสาร สแกน แฟกซ์ อีเมล์ ในเครื่องเดียวกัน ผ่านระบบเครือข่าย และเป็นดิจิตอล การเปลี่ยนโมเดลธุรกิจเป็นเรื่องที่ต้องบริหารการเปลี่ยนแปลง ทั้ง ระบบงาน ทักษะคน ทั้งทีมขาย ทีมช่างที่ต้องพัฒนา ความรู้ทั้ง ฮาร์ทแวร์ ซอฟแวร์ ระบบเครือข่าย และ การบริการเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศของบริษัทลูกค้า สำหรับการส่งมอบคุณค่าในบทความ นี้เป็นเรื่องการควบคุมการปฏิบัติการตามระบบที่วางไว้ ตั้งแต่ต้นน้ำสู่ปลายน้ำ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น