ในวันที่22 กค 2553 ผมในฐานะ ผู้ดำเนินรายการ จะสรุปเนื้อหาที่ได้เสวนากันโดยมี ดร สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ดร. สมไทย วงษ์เจริญ เจ้าของ วงษ์พาณิชย์ และ คุณวัชรมงคล เบญจธนะฉัตร์ เจ้าของ Bath Room Design หรือ iSPA เบื้องต้นผมจะสรุปประเด็นที่ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ได้กรุณาเสวนาให้ฟัง โดยผมขออนุญาติดัดแปลงเนื้อหา บวกกับสิ่งที่ผมไปศึกษาเพิ่มเติมมา เพื่อให้เข้าใจง่ายและเติมเต็มภาพAEC ดังนี้
สรุปภาพ AEC สาระเนื้อหานั้น อยู่ที่ ใน ปี 2015 ภาษีสินค้าจะเป็น 0% และไม่มีการจำกัดโควต้าสินค้า หมายถึงสินค้าเข้าออกเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศอาเซียนได้อย่างเสรี (ในที่นี้คือสินค้าที่มีแหล่งผลิตที่ใช้แรงงานอาเซียน วัตถุดิบอาเซียน หรือ RVC รวมกันถึง 40%) ซึ่งรวมถึงประเทศน้องใหม่4ประเทศ CMLV คือกัมพูชา พม่า ลาว เวียดนาม และยังต้องลดมาตรการกีดกันการค้า Non Tariff Barier NTB ที่ประเทศคู่ค้าจะกล่าวอ้างเพื่อกีดกันสินค้าใดๆเข้าประเทศ นอกจากสินค้า ยังเปิดเสรี บริการ Service แรงงาน Labour เงินทุนCapital และ การลงทุนInvestment ที่เคลื่อนย้ายระหว่างประเทศแบบเสรี หมายถึงมีการแย่งตลาดแรงงาน แรงงานอาชีพย้ายออกนอกประเทศได้หรือนำแรงงานเข้าประเทศ ตลาดเม็ดเงินลงทุนและการลงทุน แรงงานฝีมืออาชีพมีสิทธิเลือกทำงานในประเทศใดก็ได้ ขณะที่นักลงทุนต่างชาติมีสิทธิลงทุนในประเทศใดใน10 ประเทศอาเซียน และเคลื่อนย้ายเงินแบบเสรี การย้ายฐานการผลิต เพื่อไปใกล้ตลาดปลายทางและใช้แรงงานตำ่ทำได้ง่ายขึ้น ธุรกิจบริการ นักลงทุนในกลุ่มอาเซียนจะสามารถถือครองหุ้นได้มากกว่า 70% โดยได้รับสิทธิเยี่ยงคนในชาติ บริการแรกเริ่มมี 12 ประเภท ได้แก่ บริการธุรกิจวิชาชีพ สื่อสารโทรคมนาคม ก่อสร้าง จัดจำหน่าย การศึกษา ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการเงิน ด้านสุขภาพ ด้านการท่องเที่ยว ด้านนันทนาการ ด้านขนส่ง บริการอื่นๆ โดยเฉพาะสาขา ICT Health Tourism Aviation จะถือหุ้น70%ได้ในปี2553 การเชื่อมโยงระหว่างประเทศเป็นเครือข่ายเศรษฐกิจ นั้นยังเชื่อมโยงกับ เกาหลี จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ อินเดีย ที่ว่าเป็น ASEAN +3 +6 ที่จะมีการใช้สิทธิประโยชน์เยี่ยงชาติในอาเซียน ในเรื่องภาษี FTA สาระสำคัญที่ผู้ประกอบการควรสนใจคือ การรวมตลาดและฐานการผลิตในอาเซียนร่วมให้เป็นหนึ่งเดียว ซึ่งมีประชากร 600 ล้านคน และ ประเทศไทยได้ส่งออกไป อาเซียนสูงเป็นอันดับหนึ่งถึง 22% นับเป็นโอกาสทางการตลาด และการแสวงหาแรงงานราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้าน การรวมตลาดทุนกับ สิงค์โปร์ มาเลเซีย ส่วนปัจจัยเสี่ยงจะเป็นเรื่อง คู่แข่ง เช่นสปาจากต่างชาติก็สามารถเข้ามาเปิดกิจการแข่งกับเราได้ สินค้าที่นำเข้ามาที่มีต้นทุนผลิตต่ำกว่าและราคาถูกว่าทำในไทย การเข้ามาTake over และควบรวมกิจการจากต่างชาติ ในกรณีธุรกิจไทยไม่แข็งแรง เช่น ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจการเงิน เป็นต้น การแปลงสัญชาติสินค้าจากประเทศคู่ค้านอกอาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ กับ กลุ่ม APEX รัฐเซีย ปาปัวนิวกินี่ สหรัฐ ชิลี่ ทั้งนี้ธุรกิจไทยต้องปรับตัว คือ
- ด้านความคิด ต้องไม่คิดเฉพาะตลาดในประเทศไทยเท่านั้น เพราะอาณาเขตการค้าได้ขยายตัวแล้ว
- ในด้านมาตรฐาน การผลิต การให้บริการ ยกระดับมาตรฐาน เพื่อตอบสนองลูกค้าในประเทศปลายทาง และลดต้นทุนให้สามารถแข่งขันได้ การเพิ่มมูลค่าเพิ่มด้วยนวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ที่ใส่ลงไป
- ทำสิ่งที่ตัวเองชอบและถนัด โดยพัฒนาจากภูมิปัญญาพื้นบ้าน ไปได้ เช่นกาแฟ มีสตาร์บัค ระดับโลกสู่ไทย ก็มีกาแฟเอี้ยแซ ดั้งเดิมเยาวราช สู่ตลาดโลกได้ ไหมไทย นวดแพทย์แผนไทย โดยพัฒนามันให้เป็นความถนัดหลักของเรา ที่แตกต่าง เลียนแบบยาก นำไปผลิตได้หลากหลายและ ตรงใจลูกค้าหรือลูกค้าให้คุณค่ามัน เช่น ถนัดเรื่องหมู ทำกุนเชียง หมูหยอง หมูแผ่น แหนม ไส้กรอก
- ไป ศึกษาตลาดต่างประเทศ ไปแบบเล็กๆ ดูเชิงก่อน ในประเทศเพื่อนบ้าน ดูนิสัยใจคอ คู่ค้า ลูกค้า ลูกน้องในประเทศนั้นๆ กฏหมายข้อบังคับประเทศนั้นๆ แล้วค่อยขยายที่หลัง