การบริหารธุรกิจค้าส่งของคนไทย
การบริหารค้าส่งของคนไทยแยกเป็น 3 ค้า คือ การบริหารค้าเข้า การบริหารค้าออก และการบริหารคลังสินค้า
การบริหารค้าเข้า
คือการบริหารความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์ โดยเฉพาะซัพพลายเออร์รายหลักๆ เพื่อบริหารการสั่งซื้อสินค้าให้ ตรงตามความต้องการของลูกค้า ทั้งด้าน ปริมาณ ชนิด คุณภาพ และเวลาที่ถูกต้อง การบริหารซัพพลายเออร์ นั้น ซัพพลายเออร์จะมีงบประมาณให้ค้าส่ง ในแง่ โควต้ายอดซื้อ เครดิต กำไรที่ให้ งบส่งเสริมการขาย ซึ่งมักกำหนดเป็นรายปี
การบริหารสินค้าและสต๊อคคงคลัง
โดยจะต้องมีการจัดเกรดสินค้าที่มีอยู่ในมือค้าส่ง จุดมีอยู่ว่าจะสั่งซื้อสินค้ามาแล้วขายออกเลย ค้างสต๊อคในโกดัง ให้น้อยที่สุด หรือสินค้าคงค้างในโกดังให้ต่ำสุด ดังนั้นอาจมีการสั่งบ่อยขึ้น ถี่ขึ้น แต่ไม่สั่งเป็นปริมาณมากๆไปตุนเก็บกักไว้ ยกเว้นสินค้าบางประเภทเช่น น้ำมันพืช น้ำตาล น้ำอัดลมบางยี่ห้อ เบียร์ในช่วงฤดูกาล การบริหารสินค้าคงคลังนั้นจะต้องลดความสูญเสีย ให้ได้คือ สูญเสียโอกาสการขายจากสินค้าขาดมือ และ การสูญเสีย เนื่องจากการสต๊อคของมากเกินความจำเป็นเปลืองพื้นที่เก็บและดอกเบี้ยที่จมไปกับสต๊อค แทนที่จะเอาเงินนั้นไปหมุนเวียนในกิจการ โดยมีการกำหนด รอบการหมุนสินค้ากี่รอบInventory Turn over ซึ่งคำนวณจาก (ยอดขายในราคาต้นทุน) หารด้วย (สินค้าคงคลัง โดยเฉลี่ยทั้งปี ณ สิ้นเดือน 13 รอบ) หากรอบหมุนมากคือก็ต้องสั่งบ่อยและถี่ขึ้น และมีรอบการเก็บคุมการขายได้กี่วัน เช่น 45 -60 วัน หมายถึงสต๊อคสามารถขายต่อเนื่องได้ 45-60 วันหากไม่สั่งซื้อเพิ่ม สินค้าที่เคลื่อนไหวในสินค้าคงคลังนั้น มักจะมากจาก ซัพพลายเออร์รายหลัก ดังนั้น ค้าส่งต้องทำการจับคู่ระหว่างสินค้า กับซัพพลายเออร์ที่ตนสั่งสินค้าเข้ามาให้ได้ เป็นกลุ่ม TOP Best Hot มีประมาณ 1 ใน 3 ของ SKUs
การบริหารค้าออก
เป็นการบริหารลูกข่ายร้านค้า ซาปั๊ว และร้านค้า โชห่วย ที่มาซื้อสินค้าจากค้าส่ง ซึ่งค้าส่งจะต้องไม่ขายแค่สินค้า แต่ต้องให้บริการจัดส่ง ขนของขึ้นรถ บริการการจัดหน้าร้าน การบริหารสมาชิกร้านค้า สะสมยอดซื้อ การช่วยตั้งราคาและเป็นพี่เลี้ยงให้ร้านค้า เครือข่ายจริงๆ ลงโปรแกรม บาร์โค๊ต EPOS ที่สามารถตรวจนับสินค้าขายหน้าร้านได้ พร้อมกับ ให้ร้านค้าปลีกบริหารพื้นที่ขาย การเก็บสต๊อคสินค้า ให้ตรงกับการขาย ขายดีก็เก็บมากมีพื้นที่ขายมาก การสั่งซื้อสินค้าเข้าเป็นระบบเติมเต็มสินค้าที่ขายออกไป หรือเป็นการสั่งซื้อที่ตรงกับความต้องการของพื้นที่ท้องถิ่นแต่ละที่ให้มากที่สุด เมื่อรวมความต้องการซื้อของร้านเครือข่ายมารวมกันร้านค้าส่งก็จะสั่งตามที่ลูกค้าต้องการ จริง ไม่สั่งมากหรือน้อยเกินไป บรรจุให้พอดี การบริหารค้าออกเป็นเรื่องการบริหารสินค้า และ ลูกค้าร้านค้าเครือข่ายไปพร้อมๆกัน ให้ตรงกับความต้องการพื้นที่ ทั้งนี้ต้องมีการกำหนดราคา เป็น ลัง เป็นแพ็ค เป็นปลีก ทั้งนี้ค้าส่งจะต้องพลิกผันตัวเองจากแค่ขายสินค้าเป็นขายความสำเร็จของธุรกิจค้าให้กับร้านค้าเครือข่าย ด้วยการบริหารความสัมพันธ์ที่ดีกับร้านค้าเครือข่าย รู้ Profile การสั่งซื้อของลูกค้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น