การตลาด3.0>Lean Marketing
Pull System
แนวคิดในการลดความสูญเปล่าในระบบการจำหน่าย การขายและการตลาด นั้น ทาฮิชิ โฮโน่ ได้แนวคิดมาจากการสำรวจศึกษา ระบบงาน ซูเปอร์มาร์เก็ตในสหรัฐ ว่าเมื่อมีของขายออกไปจาก Shelf ก็จะมีคนเข้ามาเติมสินค้าที่ขายออกไป ที่เรียกว่าเติมเต็มสินค้าที่พร่องหายไป แล้วเขาก็นำแนวคิดนี้มาปรับปรุงพัฒนา ระบบธุรกิจที่เรียกว่า Pull Systemระบบดึง โดยหัวรถจักรอยู่ที่อุปสงค์หรือลูกค้า ยอดขาย ขายอะไรออกไปเป็นตัวชี้นำ การเติมเต็ม สต๊อค และโยงไปถึงการผลิตรถในสายการผลิตโตโยต้า ที่เรียก JIT Just-In-Time และข้อมูลของสินค้าที่ขายออกไปหรือไหลออกไปคือ แรงขับเคลื่อนดึง Pull ระบบธุรกิจทั้งหมด ทำให้สต๊อคในแต่ละขั้นตอนของธุรกิจน้อยมาก จึงเป็นที่มาของ Lea MarketingLean Marketing
Lean Marketing คือการรีดไขมันออกไปจากระบบการตลาด หรือ Pipeline แนวคิดง่ายๆคือ อุปสงค์ลูกค้านั้นมันแกว่งตัวตลอดเวลา ทั้งปริมาณ คุณภาพชนิดของผลิตภัณฑ์ เวลา ดังนั้นลูกค้าต้องได้ของที่ถูกต้อง ปริมาณถูกต้องในเวลาที่ต้องการ ดังนั้นนักการตลาดจึงคิดว่าทำอย่างไรจะให้ลูกค้ามีของ เมื่อลูกค้าต้องการมัน ต้องมีของอยู่หน้าร้าน ในสต๊อคของร้านหรือณจุดขาย ทั้งหน้าร้านเสหมือน หน้าร้านจริง และช่องทางการจำหน่ายทุกช่องทาง Channel Management ซึ่งลูกค้าที่ซื้อผ่านแต่ละช่องทางต้องการสินค้าต่างกันในเวลาความรีบด่วนไม่เหมือนกัน แต่เมื่อของขายออกไปแต่ละช่องทางแต่ละสาขาของเรานั้น เราจำเป็นต้องมีการเก็บตัวเลขSales อะไรขายดี ขายไม่ดีเวลาใดผ่านเครื่อง EPOS หรือเครื่องบันทึกการขาย และรายงานการขาย โดยเจ้าเครื่องนี้มันจะอ่าน บาร์โค๊ต Barcode และดึง รหัสสินค้า เมื่อสินค้าถูกจำหน่ายออกไป แล้ว สินค้าก็จะพร่องลงไป เราจะต้องมีการเติมต็มสินค้าเข้าไปทดแทน ของที่ขายไป เพื่อให้ของขายดีไม่ขาด และหากของขายไม่ดีต้องรีบระบายออก ไม่ควรเก็บในสต๊อคหน้าร้านหรือคลังสินค้า DC โดยมากจะมิให้เกิน 2 รอบการขาย หากมีมากไปของจะกองจมอยู่มาก มูลค่าลดลงตามเวลาและสูญหายสูญเสียจนสูญสิ้นได้ การทำให้ผอมคือต้องมีของเท่าที่จำเป็นขาย ทำ Localized การขายแต่ละช่องทางและหน้าร้านในแต่ละพื้นที่ แตกต่างกันCounter Profile บริหารจัดการการแก้ปํญหาโยกของขายไม่ดีไปยังจุดที่ขายดีแทน เพื่อลดภาระ หรือรีบระบายออกจัดรายการขายออกไป โดยไม่ต้องขนกลับคลังสินค้าจากข้อมูลการขายออกSales-out จะนำไปสู่การเติมเต็มสินค้าSales-inและ การเก็บของสต๊อคหน้าร้านขาย ก็จะมีการรวมคำสั่งซื้อไปยังต้นน้ำ หากสินค้าขายออกเร็วเติมเต็มเร็วสต๊อคมากหน่อย ขายออกช้าเติมเต็มช้าสตีอคน้อยหน่อย การบริหาจัดการ พื้นที่ขายSales Space พื้นที่คลังสินค้าWarehouse Space พื้นที่ขนส่งบนรถTruck load Area จะผันแปรตามสินค้า ที่ขายดี ขายไม่ดี สินค้าขายดีได้พื้นที่ขายมาก ขายไม่ดีได้พื้นที่ขายน้อยกว่า ตามสัดส่วน เช่น A สินค้าขายดีมาก5 % SKUs (Store Keeping Units )กับสินค้าขายดีรวมกัน แล้วอาจจะมี ไม่เกิน 20% SKU B สินค้าพอขายได้ มีไม่เกิน 30% ส่วน C สินค้าเคลื่อนไหวช้ามี 50%
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น