Marketing4.0 > Retail4.0
Retail 4.0 เนื้อหาจากMc Kinsey ที่ปรึกษาชั้นนำของโลก ซี่งผมบังเอิญได้อ่านเจอะและเห็นว่ามันคล้ายๆกับแนวคิด Marketing4.0 ที่เรากำลังคุยกันอยู่
Retail1.0
Retail 1.0 เมื่อเริ่มต้นศตวรรษ ที่ 20 โมเดลแรก ร้านค้าปลีกที่ เปิด ชั้นโชว์ของกว้าง ให้ลูกค้าหยิบเอง พร้อมติดป้ายราคา จุดคิดเงิน พนักงานร้านแต่งชุด ต้นแบบคือ Piggly Wiggly ที่ขยาย Chain ออกไป 2,500 ร้านค้า บ้านเราคงเทียบได้กับ 7-11 ซึ่งตอนปลายๆยุค เริ่มมีการพัฒนาเน้น กลยุทธ์ราคา พื้นที่ ร้านกว้างขวาง มีที่จอดรถ Category Management จัดหมวดหมู่สินค้าเป็นกลุ่ม พร้อมการวางผังจัดวางสินค้าบนชั้นวางที่เรียก Planogram เพื่อช่วยให้หาง่าย ขายดี ในบ้านเราคล้ายกับ แบบ Food land Top Supermarket
Retail 2.0
เป็นยุค Hyper Mart ใช้พื้นที่ทุกตารางเมตรให้เป็นประโยชน์แม้กระทั่งพื้นที่บนอากาศ เน้นประสิทธิภาพ และการลดต้นทุน ลูกค้าได้ของถูกตังค์ ถูกใจ ด้วยของเลือกหลากหลายแบบ และการขยาย Hypermart เป็น Super Center มีการผลิตตรายี่ห้อของร้านค้าเอง ทำ Category Killer การจัดโชว์และวางสินค้าโดยCategory มิใช่ โดยกลุ่มแบรนด์ เช่น Catทีวีแยกกับ Catเครื่องเสียง เพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบ สเป็คและราคารุ่นต่อรุ่นชนกัน (มิใช่โชว์ SONY มีทุกสินค้าภายใต้แบรนด์ SONY ) พร้อมทั้งมีร้านค้าในพื้นที่มากมายมาเสริม เจ้าพ่อคือ Walmart
Retail3.0
เป็นยุคของพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์ ในปี 1995 กำเนิด Amazon ต้นแบบของการค้าขายออน์ไลน์ และเจ้าพ่อระบบ แนะนำ หากคนที่ซื้อหนังสื่อเล่มนี้ มักจะซื้อเล่มนี้และนี้ด้วยProduct Suggestion ลดต้นทุน Logistics จากนั้นก็มี e auction eBay Zappos ในยุคนี้เฟืองจักรหลักคือ Analytics การวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมุ, Bigdata ส่วนe grocery ที่ขายของสดของชำออน์ไลน์ ต้องล้มลุกคลุกคลานกว่าจะหาแนวทางที่ใช่เจอะ ไม่ว่าเป็น Peapod Ocado AmazonFresh
Omni-channel เป็นยุคที่ห้างฯเริ่มปรับตัว Learn to Dance Online เช่นเดียวกับบริษัทใหญ่ๆ แต่เป็นการผสมผสาน โมเดล หน้าร้าน Offline+Online เช่นสั่งซื้อออน์ไลน์มาเก็บของจ่ายตังค์หน้าร้าน Click&Collect Drive-throughหรือ ซื้อหน้าร้านแล้วให้ส่งไปที่บ้านได้ รวมถึงการทำ Virtual store ไปที่แหล่งปลาชุมเช่น Tesco Homeplus ทำที่สถานนีรถไฟฟ้าใต้ดิน และขยายผลไปยัง ป้ายรถเมล์ หรือ Walmart ใช้ MOBILE APPS เพื่อให้ลูกค้า ช้อปในร้าน และสแกน Bar code สินค้า ก็จะเข้าไปใน Basket สั่งซื้อ ส่วนลูกค้าก็สามารถดูว่าตัวเองซื้ออะไรไปเท่าไรแล้ว และทำ Self Check-out คือ สแกน QR code เครื่อง เช็คเอาวน์ ข้อมูลในBasketจะเข้าสู่เครื่อง คิดเงิน รูดบัตร ลูกค้าไม่ต้องยกของออกจากรถเข็นเลย อนาคต ใช้ Mobile Wallet ผ่าน NFC ไม่ต้องรูดการ์ดแล้ว ปรากฎการณ์ Showrooming คือลูกค้าลองของหน้าร้านและกลับไปซื้อออน์ไลน์เพราะของราคาถูกกว่า ทำให้ร้านค้าต้องปรับตัว เป็น Dynamic Pricing เหมือนธุรกิจโรงแรม แขก Walk-in มิใช่หมูวิ่งชนปังตออีกต่อไป เพราะเขาถามว่าทำไม ใน Agoda Booking เขาขายราคาเท่านี้เองล่ะ ADR (Average Daily Rate) แขก Walk-inก็เลยไม่สูงกว่า Online มากเหมือนในอดีต รวมถึงขณะอยู่หน้าร้านค้า ลูกค้าจะเช็คข้อมูลเน็ตบนมือถือขณะที่คุยกับพนักงานหน้าร้าน ใครรู้ไม่จริงมีหวังโดนดินกลบหน้า ในอนาคตจะมี electronic shelf labeling platform(ESL) ที่ทำให้หน้าร้านเปลี่ยนราคาได้แบบ Dynamic เพื่อป้องกันปัญหานี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น