การตลาด 4.0 > ปรับทัพหน้าอย่างไรให้รอดในยุค 4.0
My Journey til 4.0
ก่อนจะเข้าประเด็นหลักของเรื่อง Frontline 4.0 นี้ ผมขอเล่าประสบการณ์ทำงานแชร์ให้คุณๆฟังเล็กน้อย ว่าผมได้ลงลึก เก็บเกี่ยวเรื่องราวต่างๆที่ผ่านมาแต่ละยุคอย่างไรบ้าง ผมเห็น การเดินทาง ของมันอย่างไรบ้าง
ผมได้ทำงานกับองค์กรใหญ่ข้ามชาติ ระดับชาติทังภาครัฐและเอกชน สัมผัส SME’s ธุรกิจกลางเก่ากลางใหม่ ตลอดจน OTOP ระดับรากหญ้า ช่วงที่มาเป็นที่ปรึกษาก็ได้พบเห็นลักษณะการทำงานแต่ละองค์กร ที่มีรากเหง้าของยุค 1.0, 2.0, 3.0 จนมาถึง 4.0 ทั้งนี้ต่างก็จะมีส่วนผสมของยุคต่างๆคละเคล้ากันไป ไม่ได้มีพรมแดนชัดเจนเป็นรูปธรรม
สิ่งที่สังเกตุได้ถึงธุรกิจไทยปัจจุบันเป็นที่น่าดีใจอยู่อย่างคือ ในแง่วิสัยทัศน์แล้วเรายังไม่ได้ตกยุค 4.0 นัก เพราะต่างก็ตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยี เครื่องไม้เครื่องมือทางดิจิตอล แต่ปัญหาที่พบมากโดยเฉพาะ SME’S ธุรกิจกลางเก่ากลางใหม่ของเราคือ ยัง ‘ไปไม่เป็น’ กล้าๆกลัวๆ ไม่รู้ว่าจะเริ่มตรงไหน โดยใคร อย่างไร ที่ไหน ในองค์กรตัวเอง
หลายกิจการที่ยอดขายลด กำไรลด เห็นคู่แข่งที่เติบโตเคียงข้างมาด้วยกันเขาเริ่มเอาระบบออนไลน์มาใช้ เออ เขาไปได้นี่หว่า เห็นว่ามีกำไร ขยับขยายงานออนไลน์ที่นำเข้ามาใหม่ผสมผสานกับออฟไลน์เดิมที่เคยใช้อยู่ นอนไม่หลับคิดอยู่แต่ว่าเราตกยุคแล้วหล่ะมั้ง??
สิ่งที่ My Journey บอกผม
เส้นทางทำงานก่อนจะเป็นที่ปรึกษาจนปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาเต็มตัวโดยเฉพาะด้าน 4.0 ที่ผมชำนาญเป็นพิเศษ ผมจำแนกประเภทธุรกิจไทยปัจจุบันที่มิวัยสัยทัศน์และต้องการก้าวสู่ยุค 4.0 โดยเฉพาะทัพหน้าหรือ Frontline ออกเป็นสามพวก ดังนี้1. พวกต้องการนำเทคโนโลยี 4.0 และ Tool มาประยุกต์ใช้ ที่นี้ก็ห่วงเรื่อง Process การทำงานว่าจะต้องปรับเปลี่ยนอย่างไรให้รับ เข้ากันได้ดี บางที่ก็อาจต้องปรับ ISO ที่ถือว่ายังเป็นยุค 1.0 ให้ก้าวสู่ 4.0 ให้ได้ เรื่องคนจะต้องเริ่มที่ไหน อย่างไร บางที่อาจต้องโยงจาก Marketing 4.0 สู่สิ่งที่มาคู่กันคือ Industry 4.0 ด้วย ทั้งนี้โลกาภิวัฒน์เขากำหนด ไม่ใช่รัฐบาลเราเป็นผู้กำหนด ! ยังดีที่ผู้ประกอบการพวกนี้ตระหนักว่า ‘ถ้าไม่รีบปรับ พรุ่งนี้จะมีเรายืนอยู่ในเวทีไหม’ สรุปคือธุรกิจพวกนี้ต้องการปรับ Technology, process มาตรฐาน ISO ในขั้นต้น กับหน่วยงาน Frontline แบบ 4.0 ทั้งฝ่ายการตลาด ขาย และบริการ จะเห็นว่าสุดท้ายก็มาจบลงที่คน ซึ่งต้องปรับวัฒนธรรมทำงานจากยุค 2.0 ที่ต่างคนต่างทำ ยุค 3.0 ที่แม้จะนำเทคโนโลยีมาใช้แต่ก็ยังต่างคนต่างทำ มาเป็น 4.0 ที่หลอมรวมผสมผสาน เดินทัพด้วยฝีก้าว จังหวะเดียวกัน แบบ Integrator
2. พวกที่รู้เรื่อง Tool พอสมควรแล้ว แต่ยังไม่รู้ว่าจะเดินไปในทิศทางไหน อย่างไร เมือ่ไร โดยใคร คือต้องการ Platform นั่นเอง เช่นเคยทำออฟไลน์แต่เดิมมา ที่นี้พออยากเพิ่มช่องทาง ชาแนลมาเป็นออนไลน์กับเขาบ้างจะต้อง Synchronized แนวราบแนวดิ่งอย่างไร เพราะแม้ว่าพวกนี้จะใช้ Adword, Google, ฝัง code, ทำ SEO/SEM, ใช้ line, messenger, You tube channel, online questionnaires ต่างๆเป็น แต่ยังต้องการ Platform ที่จะมาเชื่อมโยงกันทั้งหมดเป็นหนึ่งเดียวและเชื่อมโยงกับทีมงาน ระบบออฟไลน์เดิม เป็น Processที่ลิ้งค์กัน ให้สามารถส่งมอบ Customer Journey ที่ interface ทุกการเดินทางของลูกค้าเขากับหน่วยงาน เนื้องานของเราที่เข้าไปเกี่ยวข้อง…..ไม่ง่ายใช่ไหมครับ ใช่ครับไม่ง่ายเพราะเราต้องสร้าง S.O.P., blueprint รวมทั้ง KPI. ใหม่ขึ้นมารองรับด้วย และ KPI ใหม่นี้ต้องเป็น Realtime ที่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันทีทันควันด้วย !!
3. พวกที่ต้องการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กร คือก้าวไกลจากระดับ S.O.P, blueprintต่างๆของพวกที่สอง ถึงระดับองค์กรการเรียนรู้ วัฒนธรรมแบบ 4.0 แล้ว พวกนี้เข้าใจ เห็นความสำคัญ และพาองค์กรเข้าสู่ยุค 4.0 สามารถตอบโจทย์ลูกค้า พัฒนาเรื่อง Speed, quality เหลือเพียงการ Reorganization เช้าสู่วัฒนธรรมใหม่ผสมผสานกับวัฒนธรรมเก่า ตามกระบวนการ Digital Transformation เท่านั้น จริงๆแล้วถือว่ามีปัจจัยเกื้อหนุนให้เกิดการยอมรับเทคโนโลยี เครื่องมือ platform 4.0 ค่อนข้างมาก เพราะตัวพนักงานเองเมื่อได้รู้ ได้ลอง ได้เปรียบเทียบกับก่อนที่มี Digitalized ล้วนพบว่าตัวเองสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพกว่าแต่ก่อนเยอะมาก มี ‘ตัวช่วย’ นำสู่ความสำเร็จเสนอหน้าเขามาหาพวกเขา ยกตัวอย่างพนักงานขายทางโทรศัพท์ พอมีการนำขบวนการออนไลน์เข้ามาใช้ เกิดความเข้าใจคั้นเคย มีระบบ Nonvoice, VDO ต่างๆเข้ามา จะพยว่าง่ายขึ้น ดีขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก นี่คือการปรับเปลี่ยนสู่วัฒนธรรมการทำงาน วัฒนธรรมองค์กรแบบใหม่ยุค 4.0
ฝากถึง SME’s ผู้ประกอบการกลางเก่ากลางใหม่
ทางรอดของท่านเพื่อก้าวสู่ยุค 4.0 อยู่ที่การตัดสินใจของท่านเอง ท่านแค่สะดุดครับ แต่ยังไม่ได้ล้ม
สนใจคลิก ที่ปรึกษาธุรกิจ หรือ ที่ปรึกษาการตลาด
‘It’s now or never’
-->
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น